1. เปิดภาพรถมอเตอร์ไซด์ เครื่องแรงๆซักรูปนึงขึ้นมา
2.เมื่อเปิดภาพ มาแล้ว เราจำเป็นต้องเปิดหน้าต่าง Layer ขึ้นมาด้วย เพื่อไว้ดูสถานะของเลเยอร์ ตอนเราปรับค่าต่างๆของคำสั่ง New
3.หลังจากเปิดหน้าต่างเลเยอร์ที่ว่าแล้ว เราก็ไปเลือกคำสั่ง Layer แล้วใช้เม้าท์คลิ้กที่คำสั่ง new จะมีหน้าต่างย่อย ขึ้นมา มีคำสั่งย่อยๆอีกที ดังนี้
Layer คือ คำสั่งสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมา(แผ่นชั้นใหม่บนรูป แผ่นแรกจะอยู่ล่าง แผ่นต่อไปๆจะทับอยู่บน ซึ่งเวลาสร้างขึ้นใหม่ คำสั่งนี้จะสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมาอยู่บนเลเยอร์ Background
Layer From Background คือ คำสั่งที่เปลี่ยนตัวเลเยอร์ Background เป็นเลเยอร์ใหม่เลย เท่ากับจะ ไม่มีเลเยอร์ชื่อ Background
Group คือ คำสั่งที่สร้าง Folder ใหม่ขึ้นมาชื่อ Group หรือจะตั้งชื่อโฟลเดอร์ใหม่ก็ได้ โดยในโฟลเดอร์นี้ สามารถบรรจุเลเยอร์ลงไปได้ ตามที่เราต้องการ
Group From Layers คำสั่งนี้ จะเป็นโฟลเดอร์ที่บรรจุ โฟลเดอร์ Group อีกที
Layer via Copy คือ คำสั่ง Copy เลเยอร์ล่างแล้วสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมาวางเหนือเลเยอร์ต้นฉบับ
Layer via Cut คือ คำสั่งที่สั่งตัดพื้นที่ภาพที่ถูกเลือกไว้จากเลเยอร์ล่าง(เลเยอร์ต้นฉบับ มาวางบนเลเยอร์ ใหม่ ด้านบน
4.เปิดขึ้นมาแล้ว เรามาดูคำสั่งแรกเลยดีกว่า คือ คำสั่ง Layer คำสั่งนี้ คือ สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ ซ้อนทับบนรูปภาพแรก(เมื่อไฟล์เปิดขึ้นมาครั้งแรก จะถูกกำหนดให้เป็นเลเยอร์ Background ซึ่งอยู่ล่างสุด เลเยอร์ถัดไปจะซ้อนทับชั้นบนขึ้นไปเรื่อยๆ)เพื่อสำหรับใช้งานด้านเทคนิคต่่างๆเช่น Cover mark ,Layer mark หรือการแยกรายละเอียดของภาพพวกสี ประเภทเส้นรูป บนแต่ละเลเยอร์ให้ง่ายต่อการย้อนกลับมาแก้ไข ปรับปรุง ในหน้าต่างย่อยของเลเยอร์จะมีรายละเอียด ดังนี้
Name = ใส่ชื่อเลเยอร์ใหม่ลงไปเพื่อให้ง่ายในการจดจำหน้าเลเยอร์นั้นๆหรือง่ายต่อการจัดลำดับเลเยอร์
Use Layer to Previous to create Clipping Mask = คำสั่งนี้เป็นตัวกำหนดว่า เมื่อสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมาให้มีคุณสมบัติเป็น Clipping mask ไปในตัวด้วย
Color = สำหรับกำหนดสีแต่ละเลเยอร์
Mode = สำหรับเลือกชนิดของเลเยอร์ เช่น Overlay,Screen
Opacity = กำหนดความโปร่งใสของเลเยอร์ คิดเป็น %
5.เมื่อเซ็ตค่าเสร็จแล้ว (ติ๊กเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Use Previous Layer to Create Clipping Mask จะเกิดเลเยอร์ใหม่ ทับบนเลเยอร์ต้นฉบับ โดยสร้างให้เลเยอร์นี้เป็น Clipping mask ด้วย
6.มาถึงคำสั่งที่ 2 คือคำสั่ง Background From Layer เป็นคำสั่งเปลี่ยนชื่อเลเยอร์จาก Background เป็น Layer1 หรือตั้งชื่อใหม่ก็ได้เช่นกัน ส่วนค่าตัวแปรอื่นๆมีึ่ความหมายเหมือนคำสั่ง Layer
7.เมื่อตั้งค่าแล้ว กดปุ่ม OK ในเลเยอร์ background จะเปลี่ยนเป็นชื่อ Layer1 หรือ ชื่อตามที่เราตั้งไว้
8.มาถึงอีกหนึ่งคำสั่ง ที่น่าสนใจ คือ คำสั่ง Group ซึ่งเป็นเสมือนสร้างโฟลเดอร์ไว้ใส่เลเยอร์ต่างๆ แต่ครั้งแรกจะตั้งว่าชื่อ Group หรือจะเปลี่ยนชื่อใหม่ก็ได้ มันจะอยู่บนหน้าต่างเลเยอร์ ส่วนค่าตัวแปรอื่นๆ จะเหมือนคำสั่ง Layer เช่นกัน
9.ดูในหน้าต่างเลเยอร์ จะมีโฟลเดอร์ขึ้นมาใหม่ ในที่นี้ใช้ชื่อว่า "wichagraphic3"
10.อีกหนึ่งคำสั่งถัดมา ก็จะเป็นการสร้างโฟลเดอร์อีกเหมือนกัน แต่จะเป็นโฟลเดอร์ใหม่ ที่คลุมโฟลเดอร์แรก คำสั่งนี้คือ คำสั่ง Group From Layers ค่าตัวแปรตั้งเหมือนคำสั่ง Layer ทุกประการ ต่างกันตรงที่คำสั่งนี้ จะสร้างโฟลเดอ์ไว้คลุมโฟลเดอร์ Group อีกที สำหรับว่า ถ้ามีโฟลเดอร์ Group หลายประเภท หลายๆชนิด ที่สร้างไว้เก็บเลเยอร์หลายๆเลเยอร์ จะได้ถูกบรรจุเก็บไว้ใน Group ใหญ่ทีเดียว
11.เมื่อกดปุ่ม OK ผลออกมาคือ โฟลเดอร์ Group(wichagraphic 3) จะเข้าไปอยู่ใน โฟลเดอร์ใหม่ คือ wichagraphic 4(ตั้งชื่อใหม่) ตามในรูป
12.มาดูอีกคำสั่งนึง คือ คำสั่ง Layer via Copy โดยเลือกคำสั่ง Layer>New>Layer via Copy ซึ่งเป็นคำสั่ง คัดลอกเลเยอร์เดิมขึ้นมาอีกเลเยอร์นึง โดยใช้ชื่อ Layer 1 ถ้าำทำการคัดลอกต่อไปอีก ก็จะมีชื่อว่า Layer 1 copy เราสามารถสั่งคัดลอกต่อไปอีกได้เรื่อยๆ
13.เลเยอร์ที่คัดลอกขึ้นมาใหม่นี้จะอยู่เหนือเลเยอร์เดิม การคัดลอกเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ เพื่อสามารถเพิ่มเติม แก้ไข หรือ ปรับปรุง เนื้อหา สีสัน ในแต่ละเลเยอร์ สำหรับเมื่อเวลาผ่านไป เราสามารถย้อนกลับมาแก้ไขใหม่ได้ไม่ยาก
14.แต่สำหรับคำสั่ง Layer via Cut จะต่างกับคำสั่ง Layer via Copy ตรงที่ คำสั่ง Layer via Cut จะต้องใช้คำสั่ง เช่น Quick Selection Tool เพื่อเลือกพื้นที่ ที่จะทำการตัดเสียก่อน แล้วค่อยใช้คำสั่งนี้ สั่ง ตัดรูปภาพในพื้นที่ที่ได้เลือกไว้ เพื่อ นำเฉพาะรูปภาพส่วนที่เลือกไว้ นำไปใช้งานเฉพาะส่วนได้โดยสะดวก
15.เมื่อสั่งตัดแล้ว จะเกิดเลเยอร์ใหม่ ที่มีรูปชิ้นงานเฉพาะส่วนอยู่บนเลเยอร์เดิม และสามารถนำไปแก้ไขภาพได้สะดวก
16.เมือใช้คำสั่งทุกอันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะแสดงได้ดังรูป
คำสั่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องฝึกฝนใช้ให้คล่องแคล่วเสียก่อน เพราะเวลารีทัชภาพ หรือ เขียนงานกราฟฟิคที่มีรายละเอียดเยอะๆ จะต้องสร้างเลเยอร์ต่างๆขึ้นมาใช้งานมาก