วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Image Size

                  คำสั่ง Image Size ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับ ว่า ขยายรูปหรือย่อรูป คำสั่งนี้เป็นคำสั่งไว้ ย่อขยายรูปภาพ แต่อย่าลืมว่า ถ้าภาพถูกย่อหรือขยาย ย่อมมีผลต่อ Pixels ของรูปภาพ ผลออกมา จะทำให้ภาพแตกหรือ เบลอได้ ดังนั้น จริงๆแล้วการย่อภาพ ต้องใช้คำสั่ง Convert to Smart Object ก่อน เพื่อบังคับให้ภาพเสถียร แล้วค่อยสั่งย่อภาพ แต่ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึงเฉพาะ คำสั่ง Image Size ส่วนคำสั่ง Convert จะไปกล่าวถึงในหัวข้อของ Layer ต่อไป เรามาดูการย่อขยายภาพดีกว่า จะได้ใช้ตอนเวลาเราจะขยายภาพ เป็นภาพขนาดหลายเมตร เพื่อนำไปปรินซ์ป้ายไวนิล หรือโปสเตอร์ขนาดยักษ์ หรือจะย่อลงเป็นภาพเล็กๆ เืพื่อใช้ในหน้าเว็บเพจ
            1. เปิดภาพชุดตะเกียบขึ้นมาซักรูปนึง เพื่อปรับขนาดรูปภาพ






           2.เปิดคำสั่ง Image>Image Size ขึ้นมา แล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ปรับค่าต่างๆของการย่อ หรือขยายภาพ




           3.หน้าต่างที่ว่านี้ จะไว้ปรับขนาดภาพ เราสามารถเซ็ตค่าต่างๆ ดังนี้
Pixels Dimension = สำหรับปรับขนาดพิกเซล เพื่อให้รูปใหญ่หรือเล็กลง
- Width = ความกว้างของรูปภาพ มีหน่วยเป็น Pixels,Percent
- Height = ความสูงของรูปภาพ มีหน่วยเป็น Pixels,Percent
        ถ้าต้องการขยายภาพ ให้ใส่ตัวเลข มากกว่าค่าเดิม และถ้าต้องการให้ภาพย่อลง ก็ให้ใส่ตัวเลขน้อยกว่าค่าเดิมเช่นกัน
Document Size = สำหรับปรับปรับขนาดรูปตามความกว้าง และความสูง
- Width = ความกว้างของรูปภาพ มีหน่วยเป็น Percent,Inches,cm,mm,points,picas,columns
- Height = ความสูงของรูปภาพ มีหน่วยเป็น Percent,Inches,cm,mm,points,picas,columns
- Resolution = ความละเอียดของพิกเซล หรือจำนวนพิกเซลต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น Pixels/inche,Pixels/cm.
Scale Styles = มีผลต่อการ Resized
Constrian Proportions = ติ้กหรือไม่ติ๊ก เครื่องหมายถูก คือ กำหนดหรือยกเลิก ห้ห่วงโซ่สัมพันธ์กันของขนาดความกว้างและความสูง ของทั้ง Pixel Dimensions และ Document Size รวมถึง Scals Styles ด้วย
Resample Image = คือล็อกค่า Pixel Dimensions ไว้ให้ปรับได้เฉพาะค่าของ Document Size และ ค่า Resolution
            ค่าเหล่านี้ต้องค่อยๆ ลองตั้งไป จะเข้าใจเอง เพราะเมื่อเวลานำไปทำงานกราฟฟิคบ่อยๆ มันจำเป็นต้องใช้คำสั่งนี้ในการย่อขยายภาพบ่อยมาก




           4.อีกจุดนึงที่น่าสนใจ คือ ตรงปุ่ม Auto เมื่อกดปุ่มนี้แล้ว จะมีหน้าต่างเล็กๆ แสดง Auto Resolution (ความละเอียดหน้าจอ) เพื่อปรับคุณภาพของหน้าจอสกรีน เราสามารถปรับค่า มีหน่วยเป็น Line/cm,Line/inch หรือสามารถเลือกตัวเลือกคุณภาพได้ 3 ตัวเลือก คือ Draft Good Best เมือเลือกเสร็จ ก็กดปุ่ม OK




           5.มาดูข้างล่าง จะมีอีกบล็อกนึงเหมือนกัน ไว้ตั้งค่าประเภทของการใช้หน้าต่างนี้ แต่ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไร สามารถข้ามไปได้




           6.ฉะนั้น ตอนนี้ลองปรับค่าดูได้ เมื่อเราลองเติมค่าที่น้อยกว่าค่าเดิม (ค่าเดิม สามารถดูได้ เมื่อตอนเราเปิดหน้าต่าง Image Size จะเห็นตัวเลขเดิมโชร์ไว้ ใน Pixel Dimensions และ Document Size) เช่น เติมในช่อง Width และ Height ของ Pixel Dimensions แล้วกดปุ่ม Ok ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นการปรับขนาดของรูปภาพ




           7.ภาพที่ได้ออกมา จะมีขนาดเล็กลง (ตามรูป)




                   อ่านคำสั่งอื่นต่อไป แล้วจะเจอคาำสั่ง Convert to Smart Object เพื่อแปลงภาพที่จะย่อให้เป็นภาพเวกเตอร์เสียก่อน เพื่อให้การย่อไม่ทำให้ภาพแตกหรือเบลอ