1.ให้เปิดคำสั่ง Edit ก่อน แล้วเลือกคำสั่งย่อย Preference ตามลำดับ
2.จะมีหน้าต่างขึ้นมา มีรายการหลักๆ 12 รายการ คือ
General = เป็นการตั้งค่าทั่วไป เช่น ปรับสีกระดาษตามโหมด หรือ ตั้งค่าเปิดปิด ปุ่ม pallete อัตโนมัติ
Interface = สำหรับปรับแต่งพื้นกระดาษหน้าจอ ตามโหมดต่างๆ
File Handing =
Performance = ให้กำหนดหน่วยความจำของการใช้โปรแกรม Photoshop
Cursors = สำหรับปรับแต่ง Cursors
Transparency & Gamut = สำหรับตั้งหน้ากระดาษใหม่ให้มี Background เป็นโปร่งแสงแบบต่างๆ
Units & Rulers = ไว้ตั้งระบบสเกลบนโปรแกรม
Guides Grid Slices = ไว้ปรับแต่ง Guide Grid Slices
Plug - Ins=
Types =
3D =
Camera Raw =
ดังนั้น สำหรับตัวเลือกแรก คือ General มันจะเป็นการปรับแต่งโดยทั่วๆำไปของหลายๆอย่างบนหน้าจอโปรแกรม รายละเอียดแบ่งเป็นสองส่วน คือ
ท่อนบน จะเป็นการปรับ 2 อย่่าง คือ ปรับจานสีแบบ Adobe หรือ แบบ Windows กับอีกอันคือ การชดเชยส่วนของภาพที่หายไปตอนสั่งให้ภาพเปลี่ยนแปลงตามคำสั่ง Transform เช่น แบบ Bicubic(แบบนี้จะค่อนข้างชดเชยได้ดีที่สุด)
ส่วนอีกท่อนคือ Option จะมีคำสั่ง ดังนี้
Auto-Update Open Documents = เป็นการสั่งให้ Update รูปภาพที่เปิดใหม่โดยอัตโนมัติ
Beep When Done = กำหนดให้มีเสียงเตือน เมื่อการทำงานเสร็จ
Dynamic Color Sliders = กำหนดใสีของแถบเลื่อนบนหน้ากระดาษ เปลี่ยนสี เมื่อเลื่อนแถบเลื่อนนั้น
Export Clipboard = กำหนดให้ Export รูปภาพ ใน Clipboard ไปเปิดที่โปรแกรมอื่นได้
Use Shift Key for Tool Switch = สำหรับกด Shift ช่วยเมื่อกด คีย์ลัด ของ ToolBox ในชุดเดียวกัน
Resize Image During Paste/Place = กำหนดให้ ย่อขยายขนาดรูปภาพเมื่อมีการ Paste
Zoom Resizes Windows = กำหนดให้ย่อหรือขยาย Document เมื่อมีการย่อขยายมุมมองของพื้นที่
3.ตัวเลือกอันนี้ คือ แบบ Interface คือไว้ปรับสีของกระดาษหน้าใหม่ในโหมดแบบต่างๆ เช่น โหมด Standard,Full Screen แสดง Show Channels in Color สำหรับให้แสดง แชลแนลสีของรูปออกมา Show Tool Tips ให้แสดงคำอธิบายเมื่อเอาเม้าท์ไปชี้คำสั่งต่างๆ Auto-Collapse Icon Palettes แสดงโดยให้กำหนดการซ่อนไอคอนของพาเลตโดยเฉพาะ เป็นต้น ลองดูตามรูป แล้วนำไปลองปรับตั้งในโปรแกรม Photoshop ดู จะเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงตามนั้น ลองบ่อยๆ เดี๋ยวจะชำนาญขึ้นเอง
4.ตัวเลือกนี้ ใช้สำหรับปรับคา ของการเซฟไฟล์เก็บไว้
5.เป็นตัวเลือก แสดงส่วนของหน่วยความจำที่ใช้งานเมื่อประมวลผลของโปรแกรม Photoshop ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนแรกคือ Memory Usage = เป็นการกำหนดหน่วยความจำให้โปรแกรม Photoshop ได้ใช้สำหรับประมวลผล แบ่งเป็น Aviliable Ram คือ หน่วยความจำที่เหลืออยู่ปัจจุบัน ,Ideal Range คือ หน่วยความจำที่โปรแกรมทีทั้งหมดไว้ใช้งาน และ Let Photoshop Use คือ หน่วยความจำที่กำหนดไว้ให้โปรแกรมใช้
ส่วนที่สอง คือ History & Cath คือ สำหรับกำหนดให้ History pallete จำคำสั่งใช้งานได้ตามจำนวนที่กำหนด
ท่อนล่างสุด คือ Scratch Disks คือ กำหนดให้เลือก Drive ที่จะทำการ Scratch Disk
6.อันนี้จะเป็นตัวเลือก การปรับหัว Cursors ซึ่งมี 3 ส่วน คือ
แบบแรกคือ Painting Cursors = เป็นการปรับรูปแบบเครื่องมือที่เป็นแบบหัวแปรง โดยมีหัวแปรงลักษณะต่างๆ คือ
Standard = แบบเป็นรูปตัวแปรง
Precise = แบบเป็นเป้ากากบาทสี่เหลี่ยม
Normal Brush Tip = แบบวงกลมขนาดเล็ก มีสี่เหลี่ยมกากบาทข้างใน
Full Size Brush Tip = แบบวงกลมขนาดใหญ่ มีเป้าสี่เหลี่ยมกากบาทข้างใน
แบบที่ 2 คือ Other Cursors = เป็นการปรับรูปแบบที่ไม่ใช่เป็นแปรง เช่น หลอดดูดสี ให้มีหัว Cursors ลักษณะสองแบบ คือ
Standard = คือ เป็นแบบหัวหลอดดูดสี
Precise = วงกลมในเป้าสี่เหลี่ยม
ลองปรับดู แล้วจะเห้นว่า การลงสีมีความละเอียดละออแค่ไหนในการเลือกหัวแปรง ทั้งๆที่เป็นคอมพิวเตอร์แล้ว น่าจะนึกว่าง่ายๆ แต่แท้จริง ยังต้องมีการคัดสรรเครื่องมือ เช่นเดียวกับ การวาดด้วยกระดาษเปล่าธรรมดา
7.ตัวเลือกนี้คือ Transparency Setting คือปรับค่าสีและขนาดชอง Grid ตอนที่เราสร้างหน้ากระดาษใหม่ๆ ด้วยคำสั่ง File > New
8.ส่วนตัวเลือกแบบ Unit&Rulers จะเป็นตัวเลือกแบบกำหนดหน่วยวัดบนโปรแกรม แบ่งออกเป็น 4 ท่อน คือ
ท่อนแรก คือ Units = เป็นหน่วยวัดบนไม้บรรทัดของหน้ากระดาษ โดยแยกเป็น ตั้งหน่วยวัด เช่น Pixels,Inches,Cm , mm ,points ,Picas ,Percent กับ ตั้งลักษณะการวัด เช่น วัดด้วย pixels , Point, mm
ท่อนที่สอง คือ Column Size = เป็นการกำหนดขนาดคอลัมภ์ของโปรแกรม
ท่อนที่สาม คือ New Document Preset Resolution = คือ การกำหนดความละเอียดของ 2 ส่วนงานคือ Print Resolution(คือ กำหนดความละเอียดสำหรับการพิมพ์) กับ Screen Resolution (คือ กำหนดความละเอียดบนหน้าจอคอม)
ท่อนสุดท้าย คือ Point/Pica Size = คือ การเลือกระบบมาตราฐานการวัด แบบ Postscript กับแบบ Traditional
9.และท่อนนี้เกี่ยวกับตัวเลือกแบบ Guides Grid Slices ในตารางนี้จะมี 4 ท่อนย่อย คือ
ท่อนแรก คือ Guides = ปรัับเส้นและสีของ Guides
ท่อนที่สอง คือ Smart Guides = ใช้ปรับเส้นและสีของ Smart Guides
ท่อนที่สาม คือ Grid = ใช้กำหนดสี ระยะ ช่องภายใน รวมถึงลักษณะเส้น Grid
ท่อนสุดท้าย คือ ท่อนที่สี่ คือ Slices = ใช้กำหนดสี Slices และแสดง Slice Number
10.ตัวเลือกนี้ เป็น Plug - in สำหรับกำหนดให้สร้าง Folder ของ Plug in ในไดร้ไว้ เพื่อเชื่อมต่อกับ Internet ภายนอกโปรแกรม
11.ตัวเลือกนี้ สำหรับ การกำหนดตัวอักษรบนโปรแกรม
12.และ ตัวเลือกนี้ เป็นการกำหนด 3D
13. อันนี้เป็น การกำหนด เชื่อมต่อกับ ไฟล์ Raw