1.เปิดรูปภาพปากกาสีต่างๆขึ้น จะได้ปรับโหมดสีแบบอื่นๆ
2.เมื่อเปิดภาพแล้ว ก็เปิดหน้าต่าง Channel โดยไปที่คำสั่ง window แล้วใช้เม้าท์คลิ้กไปที่คำำสั่งย่อย Channel ก็จะมีหน้าต่าง Channel ย่อยใหม่ขึ้นมา หน้าต่างนี้ใช้สำหรับแสดง channel ของแต่ละโหมดสี รวมทั้ง Channel สีย่อยของโหมดสีนั้นๆด้วยไปในตัว Channel ย่อยเหล่านี้จะบอกให้รู้ว่า แต่ละโหมดสี มีสีย่อยไหนเป็นโครงสร้างอยู่บ้าง (ดูได้จากรูป)
3.แล้วก็เลือกคำสั่ง Image แล้วใช้เม้าท์คลิ้กไปที่คำำสั่งย่อย Mode เพื่อปรับสีของรูปภาพตามโหมดสีต่างๆที่ต้องการ จะเห็นว่า มีหน้าต่างย่อยใหม่ขึ้นมา ในหน้าต่างย่อย จะมีโหมดสีแบบต่างๆให้เลือก การเลือกโหมดเหล่านี้ เป็นการปรับสีภาพให้เหมาะสมกับการนำรูปไปใช้งาน เรามาดูกันดีกว่า ว่าแต่ละโหมดสีเป็นแบบไหนกันบ้าง
ฺBitmap เป็นไฟล์ภาพสีมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับการเซฟไปใช้กับหน้าเว็บต่างๆ
Grayscale เป็นโหมดสีขาวดำและเทา เป็นการแปลงภาพจากสี RGB มาเป็น Grayscale องค์ประกอบสีย่อย คือ Gray
Duotone เป็นโหมดสีที่ใช้สีสองสีแทนโทนสีดำของรูปภาพ
Indexed Color เป็นโทนสีที่มีจำนวนสี 256 สี ข้อดีคือ ถ้าภาพไม่เน้นสีละเอียด จะให้สีภาพใกล้เคียงกับโทนสีปรเภทอื่น เช่น RGB แต่ข้อเสียคือ มีจำนวนสีจำกัดแค่นั้น แล้วภาพที่จะนำมาทำเป็นสี Indexed ได้จะต้องทำมาจากสีโหมด Grayscale Duotone หรือ RGB เท่านั้น
RGB Color เป็นโหมดสี บนหน้าจอคอม มีองค์ประกอบสีย่อย คือ Red Green Blue
CMYK Color เป็นโหมดสีสำหรับงานปริ้นซ์ มีองค์ประกอบสีย่อย คือ Cyan(ฟ้า) Magenta(แดง) Yellow(เหลือง) Black(ดำ)
Lab Color เป็นโหมดสีที่ให้ความละเอียดสีกว้างกว่าระบบอื่น หมายถึงเวลาการปรับสีสันแล้ว เมื่อมีสีสันกว้างกว่า ก็จะสามารถปรับตำแหน่งสีให้ได้นุ่มนวลกว่า ซึ่งมีองค์ประกอบสี คือ Lightness a และ b
Multichannel
8 Bits/Channel
16 Bits/Channel
31 Bits/Channel
Color Table
4.เมื่อเลือกโหมดสีตามรายการข้างบน จะได้สีชนิดต่างๆ ลองปรับดูตามนั้นได้เลย ถ้่ายังไม่กดเซฟ ก็จะมีผลแค่แสดงบนหน้าจอ ยังไม่ได้เซฟลงไปในไฟล์ภาพ