1.เรามาลองเปิดภาพขึ้นมาซักภาพนึงดีกว่า เอาเป็นรูปเม้าท์ อันนึง เพื่อจะได้ลองใช้คำสั่งย่อยการปรับสี
2.เมื่อเปิดภาพขึ้นมา ก็ใช้เม้าท์เลือกคำสั่ง Image>Adjustment มันก็จะมีคำสั่งย่อยๆขึ้นมาในหน้าต่างใหม่อีกทีนึง ไว้ปรับสีสัน
คำสั่งย่อยปรับแต่งสีสัน มีดังนี้ - Brightness/Contrast
คำสั่งย่อยที่เปิดขึ้นมา เช่น Brightness/Contrast นี้ จะมี 2 ปุ่มให้ปรับเลื่อนสีสัน อันแรก คือ ปรับความสว่างมืด(Brightness) อีกคำสั่งนึง คือ Contrast ใช้ปรับเสริมความสว่างมืดของภาพ ต้องลองปรับแต่ละปุ่มให้ภาพเปลี่ยนสีสันไป จนเกิดความชำนาญ
- Levels
หน้าต่าง Level ไว้ปรับระดับสีสัน เช่น เร่งสี R G B เราสามารถดู ส่วนย่อยได้ ดังนี้
Channel = ให้เลือกเร่งสี ตาม RGB , แดง R ,เขียว G และ น้ำเงิน B
ปุ่มปรับสีสันละเอียด = จะมีปุ่มลูกศรสามเหลี่ยม ซ้าย ขวาและอันกลาง ไว้เร่งสีทีละนิด(อันที่มีรูปกราฟสีดำแสดงภาวะสี)
ปุ่มปรับสีสันอย่างหยาบ = ไว้เร่งสีนั้นๆอย่างแรง โดยเลื่อนปุ่มลูกศรแถบสีไปซ้ายขวา
- Curves
คำสั่ง Curves มี Preset ไว้สำหรับ Save,Load,Delete ค่า Default ส่วนค่าปัจจุบัน เราสามารถเซ็ตตัวพื้นฐาน เช่น R,G,B โดยกดที่ปุ่มลูกศรชี้ลงของช่อง RGB มันจะมีค่าสี เช่น R,G,B ให้เลือก ก็สามารถเลือกตามนั้น
ส่วนด้านซ้ายมือจะมีเส้นโค้งกับรูปดินสอ เอาไว้ใช้สำหรับ ดึงสีด้วยเส้นกราฟ หรือใช้ดินสอขีดบนเส้นกราฟ สีบนรูปภาพก็จะถูกเร่งสีไปตามนั้น หรือไม่เช่นนั้น เราสามารถใช้เม้าท์คลิ้กที่เส้นกราฟได้เลย แล้วลากไปมา สีบนเส้นกราฟก็จะถุกเร่งสีไปตามนั้นด้วยเช่นกัน
เราสามารถตั้งระบบอัตโนมัติด้วยการกดที่ปุ่ม Auto สีก็จะเปลี่ยนไปตามที่โปรแกรมคำนวณไว้ แล้วก็สามารถกด OK คือเสร็จสิ้นการแต่งสีด้วยกราฟแล้ว
- Exposure
ปุ่ม Exposure = ไว้ปรับความมืดสว่าง
ปุ่ม Offset = ไว้ปรับความขาวดำ
Gamma Correction = ไว้ปรับ ส่วนขาวดำที่สะสม
หลอดดูดสี อันซ้าย สำหรับ ดููดค่า Offset
หลอดดูดสีอันกลาง กับอันขวา สำหรับ ดูดค่า Exposure - Vibrance
หน้าต่างนี้ ปุ่มบนจะไว้ปรับความสดใสมีชีวิตชีวา กับ ปุ่มล่างจะปรับความอิ่มตัวของสี ลองเปิดภาพ แล้วปรับสีสันดูจะได้เข้าใจมากขึ้น
- Hue/Satuation
เป็นการปรับแต่งความสดของสีในภาพ
Colorize = กำหนดให้ปรับตามเฉดสีของภาพหรือปรับตาม สไตล์ที่เราต้องการ ใช้การติ๊กเครื่องหมายถูกหน้า Colorize
Hue = ปรับความชื้นสีสัมพัทธ์
Satuation = ปรับตามความอิ่มตัวสี
Lightness = ปรับความสว่างของสี
รูปนิ้วมือ = กดรูปนิ้วมือ แล้วไปเลือกกดที่รูปแล้วลากไปมา จะเป็นการปรับค่า Satuation
= กดรูปนิ้วมือ แล้วกดปุ่ม Ctr ค้างไว้แล้วลากเม้าท์ในรูป ก็จะเป็นการปรับค่า Hue
- Color Balance
คำสั่งนี้ ใช้สมดุลสี(Balance) แ่บ่งเป็น 2 โซน เช่นกัน โซนแรก คือ ด้านบน(Color balance)สำหรับปรับแต่งให้สีสมดุลกัน โดยดึงเฉดสีแต่ละกลุ่ม ส่วนโซนสอง ด้านล่าง(Tone Balance) มีไว้สำหรับเลือกชนิดโทนสี เช่น แบบเข้มข้นแหลม Shadows แบบกลางๆคือ Midtone และแบบ Highlights คือเน้นสีกว้างๆสบายๆ หลังจากปรับเสร็จ ก็กดปุ่ม OK หรือ Cancle เพื่อยกเลิกคำสั่ง แล้วเปลี่ยนค่าใหม่
- Black and White
การปรับค่าขาวดำ โดยใช้ Preset เลือกฟิลเตอร์ชนิดต่างๆ จะได้ภาพขาวดำ แล้วปรับค่าสี ด้วยมิกเซอร์ เป็นค่า % และด้านล่าง จะเป็นค่า Tint สำหรับเติมสีน้อยๆลงไปในรูปภาพ ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกลงในสี่เหลี่ยม หรือโดยเลือกได้จากบล็อกสี แล้วสามารถปรับค่า Hue และ ค่า Satuation ได้ตามต้องการ
ผลออกมาก็จะได้รูปภาพขาวดำ ที่ถูกไล่เฉดสีองค์ประกอบต่างๆ
- Photo Filter
ปุ่ม Filter = สำหรับเลือกฟิลเตอร์สีชนิดต่าง เช่น สีส้ม เหลือง เขียว หรือจะปรับรูปภาพให้เป็นสีซีเปีย(สีภาพ โบราณ) ก็ใช็โหมดนี้ได้ ไม่จำเป็นต้องไปฝึกปรับสี ให้ยุ่งยาก
ปุ่ม Color = สำหรับให้เราเลือกสีปรับเอง(คลิ้กที่กล่องสี สี่เหลี่ยม)
ปุ่ม Density = สำหรับปรับความเข้มข้นของสี
- Channel Mixer
ใช้ Preset ตั้งค่า Default เป็นฟิลเตอร์สีต่างๆได้ แต่ถ้าเลือกฟิลเตอร์สีย่อยแล้ว Output Channel(รวมถึงรูปภาพ)จะกลายเป็นสีเทาหรือขาวดำ ส่วน Output Channel สามารถเลือกสีที่จะขับออกมาได้ เช่น R G B สำหรับส่วนด้านล่าง(Source Channels) จะเป็นสีสำหรับ มิกเซอร์สีเข้าด้วยกันลงบนรูปภาพ และ สี่เหลี่ยมMonochrome = เมื่อติ๊กเครื่องหมายถูกแล้ว จะสำหรับเล่นกับจอ ขาวดำหรือจอเขียว
เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถ จะเซฟ โหลด หรือ จะลบค่า Default ได้ทั้งนั้น โดยใช้ปุ่มที่อยู่ด้านหน้า ปุ่ม Ok เรียบร้อยเสร็จสิ้น ก็กด Ok เป็นอันปรับแต่งเสร็จ
- Invert
เมื่อใช้คำสั่ง Invert สีจะกลับทิศเป็นสีตรงกันข้าม ภาพออกมาจะเป็นลักษณะดังในรูป
- Posterize
เป็นคำสั่งปรับสีภาพให้เข้าใกล้ภาพแบบโปสเตอร์ เราสามารถเลื่อนปุ่มลูกศรสามเหลี่ยมไปมาซ้ายขวาได้ สีจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปตามนั้น
- Threshold
เป็นคำสั่งที่ทำให้ภาพกลับไปเริ่มต้นเป็นภาพขาวดำในอดีต โดยสามารถปรับปุ่ม ลูกศรสามเหลี่ยมไปมา สีขาวดำก็จะเข้มหรือจางลงเหมือนภาพชีวิตอดีต
- Gardient Map
คำสั่งนี้ จะเป็นการไล่สีโดยวิธี Gradient กดที่สี่เหลี่ยมรูปสี จะเกิดหน้าต่าง Gradient ขึ้นมา เราสามารถเลื่อนแถบสีไล่สีได้ตามใจชอบ แล้วรูปภาพที่เลือกไว้ ก็จะเปลี่ยนสีไปตามนั้น ส่วน Reverse จะเป็นการกลับสีให้เป็นสีตรงกันข้าม
- Selective Color
หน้าต่างนี้ จะมี Preset ให้เลือกค่า Default เดิมๆ แต่ถ้าของเก่าไม่มี เราสามารถเลือก Save,Load หรือ Delete ได้(เซฟจากค่าปัจจุบัน ที่เราปรับตั้งค่าไว้ ก็ได้)
ปุ่ม Colors = เป็นปุ่มที่ให้เลือกสีที่จะเน้นปรับเป็นหลัก โดยคลิ้กที่แป้นลูกศรชี้ลง เพื่อเลือกสีที่จะปรับก่อน ก็จะมีสีที่ให้เลือก เช่น Reds,Yellows,Greens เป็นต้น
กลุ่มโหมดสีต่างๆ คิดเป็นหน่วย % = ไว้ปรับเร่งสีที่เลือกไว้ให้เน้นสีออกมา
หลังจากปรับค่าเสร็จก็กดปุ่ม OK ถือเป็นเสร็จสิ้นการปรับค่า Selective Color
- Shadows/Highlights
คำสั่งนี้จะมี 3 Zone โซนแรก คือ โซน Shadows ไว้ปรับเพิ่มความสว่างของรูปภาพ โซนที่สอง คือ โซน Highlights ไว้ปรับลดความสว่างของภาพเช่นกัน ส่วนโซนที่สาม โซน Adjustments จะเป็นโซน สำหรับจูนสีให้กลมกลืนดูเป็นธรรมชาติ สมเหตุผลขึ้น แล้วล่างสุดสามารถกด Save ค่า Default ไว้ได้ และ ส่วนด้านบนขวามือ สามารถกด Save และ Load ค่าที่ตั้งไว้ได้ หรือ กดปุ่ม OK เลยก็ได้
- HDR Toning
หลักการ HDR นี้เป็นเทคนิคใหม่ในการใช้แก้ปัญหา การถ่ายรูปในที่มีแสงแตกต่างกันมากเกินกว่า ที่ตัวเซ็นเซอร์กล้องจะจับภาพและเก็บแสงไว้ได้ทั้งหมดในการถ่ายคราวเดียว แม้ว่า สมัยนี้จะใช้กล้องถ่ายแบบ DSLR ก็ตามที ดังนั้น ด้วยเทคนิคจะมีวิธีแก้ 2 ทาง คือ การถ่ายรูปภาพซ้อนๆกันสามครั้งโดยที่ค่า Exposure ต่างกัน คือ ถ่ายภาพมืดกว่า ภาพกลางๆ และถ่ายภาพที่สว่างกว่าหน่อย แล้วนำทั้งสามภาพมาซ้อนรวมกัน ซึ่งจะเป็นอะไรที่ค่อนข้างยุ่งยาก หรือ อีกวีธี คือ การใช้ โปรแกรม Photoshop cs5 เข้ามาช่วยแต่ง ด้วยคำสั่ง HDR Toning ที่นี้เรามาดูกันดีกว่า วิธีแต่งภาพด้วย คำสั่งนี้
ด้านบนจะมีคำสั่ง Preset ไว้เซ็ตค่า Defualt ซึ่งที่เตรียมไว้จะมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาพขาวดำ กลุ่มภาพสี และกลุ่มภาพอิ่มสี ส่วนถ้านอกเหนือกว่านี้ เราสามารถ เซฟ โหลด หรือ ลบ ค่า Default ได้
ในส่วน Edge Glow = จะมีไว้เซ็ตค่ารัศมีและความเข้มแข็งของสีส่วนที่สว่างเกิน
ถัดมาจะเป็น Tone and Detail= จะไว้สำหรับปรับความสว่างมืด รวมถึงเงา ความจ้าของแสงและความคมของภาพด้วย
สุดท้าย คือ Color = ไว้ปรับลดสีของรูป
หรือเราจะใช้การดึงเส้นกราฟให้สีสันของรูปเปลี่ยนไปก็ได้เช่นกัน
- Variations
หน้าต่าง Variations ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน(ดังรูป) ส่วนแรกคือ เป็นรูปก่อนปรับแต่งภาพ(Original) และเป็นรูปที่ปรับสีล่าสุด(Pick) ส่วนที่ 2 จะโชร์กลุ่มเฉดสีไว้ปรับความเข้มข้นของสี มี Shadows Midtones Highlights Satuation ปุ่มปรับภาพอย่างละเอียด แล้ว Clipping ส่วนที่ 3 ด้านล่างซ้าย จะโชร์ ภาพหลังปรับเติมสีต่างๆ เช่น เติมสีเขียวไปเรื่อยๆ และส่วนสุดท้าย คือ โชร์การเพิ่มความสว่างมืด ซึ่งอยู่ด้านขวาล่าง หลังจากนั้น เราก็สามารถกด Save ,Delete หรือ Load ค่าที่ตั้งไว้ขึ้นมาใหม่ได้ เมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้ว ก็กดปุ่ม OK ได้เลย
- Match Color
คำสั่ง Match Color เป็นคำสั่งที่ ต้องเปิดรูปภาพขึ้นมา จำนวน 2 รูป เพื่อจะทำการ Copy สีจากพื้นที่ที่ถูกเลือกไว้ในรูปที่หนึ่ง แล้วนำไปเปลี่ยนสีของรูปในพื้นที่ที่ถูกเลือกในรูปที่สอง โดยมีขั้นตอนดังนี้
ส่วนบนคือ Imagee Option = ไว้สำหรับปรับสีรูปที่สองเพิ่มเติมหลังจากถ่ายสีมาจากรูปแรก
ส่วนล่าง คือ Image Statistics = ในช่อง Source ให้เลือกไฟล์รูปภาพ ที่จะ Copy ตัวสีมาจากพื้นที่ที่เลือกไว้
ส่วน Load Statistics = สำหรับโหลดไฟล์ที่เก็บสีที่ต้องการไว้ ออกมาใช้งานกับรูปภาพปัจจุบัน
Save Statistics = สำหรับเก็บสีจากไฟล์ภาพปัจจุบัน ที่เลือกพื้นที่เก็บไว้
- Desaturate
คำสั่งนี้เป็นคำสั่งสำหรับลดค่าความสดใสของสีลง เมื่อลดลงมากก็จะกลายเป็นภาพขาวดำหรือสีเทานั่นเอง
- Replace Color
คำสั่งนี้ คือ ใช้หลอดดูดสี ดูดที่จุดที่จะเปลี่ยนสีในรูปภาพ(สีที่จะเปลี่ยนจะเป็นจุดที่เป็นโทนสีเดียวกัน)รูปภาพที่จะเปลี่ยนสี จะโชร์บนกลางหน้าต่าง หลังจากนั้น ให้ปรับแต่งสีที่ด้านล่างของหน้าต่างในส่วนของ Replacement โดยปรับที่ Hue Satuation Lightness เมือ่ได้สีที่ต้องการแล้ว ก็กด Ok หรือจะกด Save , Load สีที่ปรับแต่งไว้ก็ได้
หลังจากปรับเสร็จ จะได้สีแทนที่สีเดิมของในรูปภาพ
- Equalize
เป็นคำสั่งปรับสีสันให้สมดุลเท่ากัน จะเกิดรอยสีแล่บออกมาตามขอบรูปเล็กน้อย