วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

New Fill Layer

                  New Fill Layer เป็นคำสั่งง่ายๆ แต่ได้ใจความ คือเป็นคำสั่งสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมาบนรูปที่เปิดใช้งาน โดยไว้เติมสีสันลงไป เพื่อสามารถสร้าง Mask ต่างๆ หรือ ใช้สีสันซ้อนทับเลเยอร์ล่าง ให้มองดูภาพมีสีสันสวยงามขึ้นในแบบต่างๆของ Filter
            1.เรามาลองเปิดรูปไขควงกัน รูปง่ายแบบนี้แหระ


           2.แล้วเลือกไปที่คำสั่ง Layer โดยคลิ้กไปที่คำสั่ง New Fill Layer มันจะมีตัวเลือกขึ้นมา 3 ตัวเลือก ได้แก่ Solid(ไว้วางฟิลชนิดเป็นสีราบเดียวกันทั้งหมด),Gradient(ไว้วางแผ่นเลเยอร์ชนิดไล่สีสัน)และอันสุดท้าย คือ Pattern(ไว้วางเลเยอร์ที่มีพื้นเป็นลวดลายต่างๆแบบกระเบื้อง)


           3.เราลองเลือกตั้วเลือกที่ 1 คือ Solid จะมีรายละเอียดให้เซ็ต ดังนี้
           Name = จะมีชื่อ Color Fill ไว้ หรือจะตั้งชื่อใหม่ของฟิลก็ได้เช่นกัน
           Use Previous Layer to Create Clipping Mask = ใช้สำหรับกำหนดให้สร้าง Mask ขึ้นมาพร้อมเลเยอร์ Fill ไปในตัวด้วย (สังเกตจะมีสี่เหลี่ยม Mask บนแถบเลเยอร์
           Color = ไว้สำหรับเลือกสีประจำตัวเลเยอร์ฟิล
           Mode = อันนี้จะเป็นโหมด Blending หรือโหมดที่ใส่แผ่นฟิลเตอร์ให้แสงผ่านออกมาเป็นสภาพสีสันต่างๆกันไป
           Opacity = สำหรับปรับความโปร่งแสงของแผ่นฟิลเตอร์เลเยอร์
                  เมื่อตั้งค่าตามนั้นแล้ว จะเห็นในหน้าต่างเลเยอร์ด้านล่างขวามือ ในแถบเลเยอร์บน จะมี Mask เกิดขึ้นมา เราสามารถนำไปประยุกต์กับคำสั่ง Mask ในหัวข้ออื่นต่อไป


            4.พอเลือกตัวเลือก Solid จะได้หน้าต่างสีขึ้นมาก่อน เพื่อให้เราเลือกสีอะไรก็ได้ที่ต้องการ เพื่อใส่ลงในเลเยอร์ฟิล



           5.ในที่นี้ สมมุติว่าเราเลือกเป็นสีแดง และปรับค่า Opacity เหลือแค่ 50% สีจะออกมาเป็นแดงอ่อน หรือ ชมพูนั่นแหระ และพอกดปุ่ม OK ก็จะได้ภาพตามในรูปข้างล่าง



           6.แล้วถ้าเลือกตัวเลือกที่ 2 จะเป็นตัวเลือก Gradient นักกราฟฟิคจะรู้ได้เลยว่า เป็นการตั้งเลเยอร์ฟิล ให้เป็นแบบไล่เฉดสีได้ มันจะมีค่าให้ปรับแต่งดังต่อไปนี้
           Gradient = ใช้ตั้งชนิดหรือสภาพของการไล่สีสัน
           Style = เป็นสไตล์ของการไล่เฉดสี เช่น ไล่สีเป็นเส้นตรง เป็นแนวรัศมี เป็นเป็นเชิงมุม
           Angle = ไว้เลือกมุมองศาที่จะไล่เฉดสี
           Scale = ไว้ปรับขนาดของสีที่ไล่เฉดแล้ว
           Reverse = ไว้ปรับพิกัดเฉดสีเป็นตรงข้าม
           Gradient = ปรับแนวเส้นของ Layer
                  เมื่อตั้งค่าตามในหน้าต่างแล้ว จะเห็นในหน้าต่างเลเยอร์ จะมี Mask เกิดขึ้นมา เหมือนอันแรก เช่นกัน



           7.พอเลือกแล้ว ผลออกมาก็ได้ตามรูป คือ จะเห็นมีการไล่เฉดสีจากอ่อนไปเข้าม


           8.และตัวเลือกสุดท้าย คือ Pattern จะเป็นการเลือกรูปแบบคล้ายๆลายกระเบื้องแบบต่างๆ มีลวดลายสวยงาม ไว้เป็น Mask บนรูป เราสามารถตั้งค่าได้เช่นกัน ดังนี้
           กรอบ Pattern = ไว้เลือกลายแพทเทิร์นต่างๆ
           Sacle = ไว้ปรับขนาดของแพทเทิร์น
           Link With Layer = ไว้กำหนดให้ Mask สัมพันธ์กับ Layer
           Create a new preset from this pattern = ไว้สำหรับสร้างแบบแพิร์นใหม่ แล้วเก็บไว้ใช้งาน
                  เมื่อตั้งค่าแล้ว ให้กดปุ่ม Ok (ในหน้าต่างเลเยอร์จะมีกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆ โชร์ให้เห็นว่ามีแพทเทิร์นไว้ และมี Mask ด้วย



           9.เราจะได้ภาพไขควงขึ้นมาแล้วพื้นรูปภาพ จะมีลายแพทเทิร์น ตามที่เราเลือกไว้


            เป็นอันว่า เสร็จสิ้นการเลือก เลเยอร์ใหม่ที่ไว้ใช้เติม Fill แล้ว ใหม่ๆอาจจะงงว่า จะเอาไปทำอะไรได้บ้างกับคำสั่งนี้ ลองฝึกบ่อยๆครับ เมื่อเข้าใจแล้ว จะนำไปประยุกต์ใช้งานได้เยอะแยะ